เมนู

แม้อเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา (มโนทวาราวัชชนจิค) ก็เป็น
มัคคารัมมณะคือมีมรรคเป็นอารมณ์ เพราะในเวลาพิจารณามรรคของพระอริยะ
ทั้งหลายเป็นปุเรจาริกของปัจจเวกขณะ แต่ไม่เป็นมัคคเหตุกะ (คือไม่มีเหตุ
คือมรรค) เพราะไม่เกิดพร้อมกับมรรค ไม่เป็นมัคคาธิบดี (คือไม่มีมรรค
เป็นอธิบดี) เพราะไม่ทำมรรคให้หนักหน่วงเป็นไป.
ถามว่า เพราะเหตุไร จิตนี้จึงไม่ทำมรรคให้หนักหน่วง.
ตอบว่า เพราะความที่ตนเป็นอเหตุกะ เป็นสภาพเลว เป็นความโง่.
เหมือนพระราชา ชาวโลกทั้งปวงย่อมเคารพ แต่เด็กรับใช้ซึ่งเป็นคนเตี้ยค่อม
เป็นต้น ซึ่งข้าราชบริพารมิได้ทำความเคารพอย่างยิ่ง เหมือนผู้เป็นบัณฑิต
เพราะความที่ตนเป็นคนโง่ ฉันใด จิตแม้นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมไม่ทำมรรค
ให้หนักหน่วง เพราะตนเป็นอเหตุกะ เป็นสภาพเลว เป็นความโง่.
จิตตุปบาทที่เป็นกุศลไม่ประกอบด้วยญาณเป็นต้น ย่อมไม่ได้อารมณ์ที่
มีอารมณ์เป็นมรรคเป็นต้น เพราะไม่มีญาณและเพราะมีอารมณ์เป็นโลกิยธรรม
พึงทราบว่า จิตตุปบาทนี้ย่อมเป็นนวัตตัพพารัมมณะเท่านั้นฉะนี้แล.

ว่าด้วยอตีตารัมมณติกะ


พึงทราบวินิจฉัยในอตีตารัมมณติกะ ต่อไป
ธรรมคือ วิญญาณัญจายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นธรรม
มีอารมณ์เป็นอดีตโดยส่วนเดียวเท่านั้น เพราะถือเอาสมาบัติที่เป็นอดีตในหน
หลังเป็นไป.
บทว่า นิโยคา อนาคตารมฺมณา นตฺถิ (ธรรมที่มีอารมณ์เป็น
อนาคตโดยเฉพาะไม่มี) ความว่า ชื่อว่า จิตที่มีอารมณ์เฉพาะโดยที่กำหนดไว้
ไม่มี. ถามว่า ก็อนาคตังสญาณมีอารมณ์เป็นอนาคตโดยส่วนเดียว แม้จิตที่

เป็นเจโตปริยญาณก็ปรารภอนาคตเป็นไป มิใช่หรือ ? ตอบว่า มิใช่ไม่ปรารภ
เป็นไป แต่จิตที่เป็นอนาคตังสญาณ และเจโตปริยญาณนี้มีอารมณ์เฉพาะดวง
ไม่มี มีแต่อารมณ์ที่เป็นมิสสกะดวยมหัคคตจิตอื่น ๆ เพราะทรงสงเคราะห์ไว้
ด้วยรูปาวจรจตุตถฌาน ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า นิโยคา อนาคตารมฺมณา
นตฺถิ
(ธรรมที่มีอารมณ์โดยเฉพาะไม่มี) ดังนี้.
ทวิปัญจวิญญาณ (วิญญาณ 10) และมโนธาตุ 3 ชื่อว่า มีอารมณ์
เป็นปัจจุบัน เพราะเป็นไปในอารมณ์มีรูปเป็นต้นซึ่งเป็นปัจจุบัน.
ในบทว่า ทส จิตฺตุปฺปาทา (จิตตุปบาทที่เป็นวิบาก 10) นี้
ได้แก่ สเหตุกวิบาก 8 ดวงก่อน ชื่อว่ามีอารมณ์เป็นอดีตเท่านั้น ในเวลาที่
ปรารภกรรม หรือกรรมนิมิตในเวลาถือปฏิสนธิของพวกเทวดาและมนุษย์เป็น
ไป. แม้ในเวลาเป็นภวังค์ และจุติ ก็นัยนี้แหละ.
แต่ว่าในเวลาที่จิตนี้ปรารภคตินิมิตถือปฏิสนธิและในเวลาที่เป็นภวังค์
ต่อจากปฏิสนธิมาเป็นปัจจุบันอารมณ์ (มีอารมณ์เป็นปัจจุบัน) ในขณะที่เป็น
ไปในทวาร 5 ด้วยอำนาจตทารัมมณะก็มีอารมณ์เป็นปัจจุบันเหมือนกัน แต่
เพราะรับอารมณ์ต่อจากชวนะที่มีอารมณ์เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันใน
มโนทวารเป็นไป จึงมีอารมณ์เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน. แม้ในมโนวิญ-
ญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขาฝ่ายกุศลวิบากอเหตุกะก็มีนัยนี้แหละ. ในอธิการ
นี้มีเนื้อความต่างกันอย่างนี้คือ มโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา อเหตุก-
กุศลวิบากนั้นเป็นปฏิสนธิของคนทั้งหลายผู้บอดแต่กำเนิดเป็นต้นในหมู่มนุษย์
อย่างเดียว และมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน ด้วยสามารถทำสันติรณกิจในปัญจทวาร
ส่วนมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยโสมนัสกุศลวิบากอเหตุกเป็นธรรมมีอารมณ์
ปัจจุบันด้วยสามารถทำสันติรณกิจ และตทารัมมณกิจในปัญจทวาร และพึง

ทราบว่า มีอารมณ์ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ด้วยสามารถตทารัมมณะ
ในมโนทวาร เหมือนมโนวิญญาณธาตุที่เป็นสเหตุกวิบาก ฉะนั้น.
ส่วนอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นอกุศลวิบาก มีคติเหมือนมโน-
วิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา อเหตุกกุศลวิบากนั่นเอง. แต่ในที่นี้มีความ
แปลกกันดังนี้ว่า อเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นฝ่ายอกุศลวิบากนั้นเป็นไปด้วย
อำนาจปฏิสนธิ ภวังค์ และจุติของพวกในอบายภูมิทั้งหลายอย่างเดียว. อเหตุก
มโนวิญญาณธาตุฝ่ายกิริยาสหรคตด้วยโสมนัส เมื่อทำอาการร่าเริงของพระขีณา-
สพทั้งหลายในปัญจทวาร ก็เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน, ในเวลาปรารภ
ธรรมอันต่างด้วยอดีตเป็นต้น ในมโนทวารเป็นไปด้วยอำนาจหสิตุปปาทนกิจก็
เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน.

ว่าด้วยจิตตุปบาทกามาวจรกุศล 8


พึงทราบบทมีอาทิว่า กามาวจรกุสลํ (กามาวจรกุศล) ต่อไป
ว่าโดยกุศลก่อน จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณ 4 ดวงของพระ-
เสกขะและปุถุชนผู้พิจารณาขันธ์ ธาตุ และอายตนะอันต่างโดยอดีตเป็นต้น
ย่อมเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน. ในขณะพิจารณา
บัญญัติและพระนิพพานเป็นนวัตตัพพารัมมณะ คือเป็นธรรมมีอารมณ์ไม่พึง
กล่าว. แม้ในจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตก็นัยนี้แหละ. ในอธิการนี้ การ
พิจารณามรรคผลและนิพพานด้วยจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตเหล่านั้น ไม่มี
นี้เป็นการต่างกันอย่างเดียวเท่านั้น.
ว่าโดยฝ่ายอกุศล จิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิคตสัมปยุต 4 เป็นธรรมมี
อารมณ์เป็นอดีตเป็นต้นในเวลาที่ยินดีเพลิดเพลินใจและมีความถือผิดซึ่งขันธ์
ธาตุ และอายตนะอันต่างโดยขันธ์ที่เป็นอดีตเป็นต้น ย่อมเป็นธรรมมีอารมณ์